หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา

เมนู

 

ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
เรื่อง ลักษณะและวิธีการส่ง และลักษณะและปริมาณของข้อมูล ความถี่และวิธีการส่ง

ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ
พ.ศ. ๒๕๖๐

________________


               โดยที่เป็นการสมควรกําหนดลักษณะและวิธีการส่ง และลักษณะและปริมาณของข้อมูล ความถี่ และวิธีการส่งคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ
               อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๔ ประกอบมาตรา ๑๑ วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิด

เก่ียวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

(ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๖๐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคมออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้


               ข้อ ๑ ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เรื่อง ลักษณะ และวิธีการส่ง และลักษณะและปริมาณของข้อมูล ความถ่ีและวิธีการส่งซึ่งไม่เป็นการก่อให้เกิดความ เดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับ พ.ศ. ๒๕๖๐”


               ข้อ ๒ ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป


               ข้อ ๓ ในประกาศน้ี
               “ข้อมูลคอมพิวเตอร์” หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ คําสั่ง ชุดคําส่ัง หรือสิ่งอ่ืนใดบรรดาที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึง ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
               “ที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Address)” หมายความว่า (๑) ที่อยู่ปลายทาง (destination) ที่ใช้รับจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address) หรือ (๒) ท่ีอยู่ปลายทางบน อินเทอร์เน็ตที่ใช้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์ (IP Address of computer data) ซึ่งที่อยู่ดังกล่าวอาจ ประกอบด้วยชื่อผู้ใช้ (Username) ชื่อผู้รับข้อมูล (Recipient’s name) หรือกล่องจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail box) ของผู้รับข้อมูลรวมถึงเบอร์โทรศัพท์หรือที่อยู่บนอินเทอร์เน็ต (IP Address) ของผู้รับข้อมูลซึ่งที่อยู่ดังกล่าวสามารถอ้างอิงถึงชื่อโดเมน (Domain Name) ปลายทาง หรือที่อยู่ปลายทาง ของเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ท่ีใช้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์ได้ ไม่ว่าที่อยู่ดังกล่าวน้ัน จะปรากฏให้เห็นหรือไม่ก็ตาม
               “ผู้รับข้อมูล” หมายความว่า บุคคลซึ่งผู้ส่งข้อมูลประสงค์จะส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ให้และได้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์นั้น ทั้งนี้ ไม่รวมถึงบุคคลท่ีเป็น ส่ือกลางสําหรับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์นั้น
               “ผู้ส่งข้อมูล” หมายความว่า บุคคลที่มีเจตนาส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ในเบื้องต้นเพื่อประโยชน์ในทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายสินค้าหรือบริการ การลงทุน หรืออสังหาริมทรัพย์ใด ๆ รวมถึงผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น (Application) หรือ ผู้ให้บริการประเภทสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่โฆษณา หรือสนับสนุนการส่งข้อมูล หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ทั้งนี้ ไม่รวมถึงผู้ให้บริการโทรคมนาคมที่เป็นสื่อกลางสําหรับ การส่งผ่านข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอเิ ล็กทรอนิกส์นั้น
               “หน่วยงานของรัฐ” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม ส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น และมีฐานะเป็นกรม ราชการส่วนภูมิภาค ราชการส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ ที่ตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติ หรือพระราชกฤษฎีกา และให้หมายความรวมถึงนิติบุคคล หรือบุคคลซึ่งมีอํานาจหน้าที่ดําเนินการของรัฐ ไม่ว่าในการใด ๆ
               “อิเล็กทรอนิกส์” หมายความว่า การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน ไฟฟ้า คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือวิธีอื่นใดในลักษณะคล้ายกัน และให้หมายความรวมถึงการประยุกต์ใช้วิธีการทางแสง วิธีการทางแม่เหล็ก หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วิธีต่าง ๆ เช่นว่านั้น


               ข้อ ๔ การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้แก่บุคคลอื่นในลักษณะ ดังต่อไปนี้ไม่ถือว่าเป็นการส่งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรําคาญแก่ผู้รับข้อมูล
               (๑) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอรห์ รือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อติดต่อหรือเป็นหลักฐานในการทํา นิติกรรมสัญญา (transactional) ที่คู่สัญญาได้ตกลงกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หรือการส่งข้อมูลที่ผู้รับ ข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลส่งเพื่อปฏิบัติตามกฎหมาย หรือเพื่อแสดงความสัมพันธ์หรือนิติสัมพันธ์ที่มีระหว่างกัน (relationship) ในทางกฎหมาย ได้แก่การกระทําที่มีลักษณะ ดังต่อไปนี้
                    (ก) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อยืนยันการชําระหนี้ หรือการกระทําการใด ๆ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการทํานิติกรรมในเชิงพาณิชย์ (commercial transaction) ซึ่งผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลได้ตกลงเข้าทํานิติกรรมสัญญาดังกล่าวแล้ว
                    (ข) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อประกอบการใช้สิทธิ เรียกร้องในทางกฎหมายหรือชําระหนี้ทางกฎหมายหรือการส่งข้อมูลเพื่อเข้าทํานิติกรรมสัญญาตามแบบ หรือเงื่อนไขอื่นใดที่กฎหมายกําหนด ซึ่งผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลได้ตกลงเข้าทํานิติกรรมดังกล่าวแล้ว
                    (ค) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้คํารับรอง (warranty) เรียกคืนสินค้าหรือบริการ (recall) เนื่องจากความชํารุดบกพร่องหรือสินค้าไม่ได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือความปลอดภัยหรือมาตรฐานของสินค้าและบริการ (safety) หรือข้อมูลที่เกี่ยวกับหลักประกันเกี่ยวกับ สินค้าหรือบริการ (security)
                    (ง) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เพิ่มเติมข้อกําหนดเงื่อนไขเดิมในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ การบริการสมาชิก การลงทะเบียนเพื่อรับบริการ หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมความสัมพันธ์ในทางนิติกรรมสัญญาไม่ว่าด้วยประการใด ๆ ตามกฎหมาย
                    (จ) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวกับนิติสัมพันธ์ที่เกิดจาก สัญญาจ้างแรงงาน สัญญาจ้างทําของหรือผลประโยชน์อื่นใดที่เก่ียวข้องกับผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูล ท่ีตกลงกันแล้ว
                    (ฉ) การส่งมอบสินค้าและบริการตามท่ีผู้ส่งข้อมูลและผู้รับข้อมูลตกลงกันไว้ล่วงหน้า เช่น การเป็นสมาชิก หรือสมัครเป็นผู้ใช้บริการต่าง ๆ ที่ถูกกฎหมาย โดยผู้รับข้อมูลและผู้ส่งข้อมูลตกลงกันแล้ว
                    (ช) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งเป็นไปตามที่กฎหมายกําหนด

               (๒) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยรัฐบาล รัฐสภา ศาล หรือหน่วยงานของรัฐใด ๆ ที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อแจ้งให้ทราบถึงข้อกําหนด กฎหมาย คําสั่ง หรือผลของนิติกรรมทางปกครองใด ๆ ที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์หรือเพื่อแสวงหาผลกําไรทางธุรกิจ

               (๓) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงาน หรือองค์กรการกุศลที่ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์หรือเพื่อแสวงหาผลกําไรทางธุรกิจ
               (๔) การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่มีลักษณะผิดกฎหมาย ไม่ละเมิดสิทธิส่วนบุคคล และไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์


               ข้อ ๕ ในกรณีที่เป็นการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในเชิงพาณิชย์นอกเหนือจากที่ระบุในข้อ ๔ ไปยังที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ในลักษณะดังต่อไปนี้ เมื่อได้รับความยินยอม จากผู้รับข้อมูลแล้วไม่เป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อน

รําคาญแก่ผู้รับข้อมูล
               (๑) ผู้ส่งข้อมูลต้องระบุข้อความดังต่อไปน้ีในข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งให้แก่ผู้รับข้อมูลแต่ละราย
                    (ก) ระบุหรือแสดงสัญลักษณ์หรือรายละเอียดและวิธีการใด ๆ ที่ผู้รับข้อมูลสามารถ บอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์ไว้อย่างชัดเจนเพื่อปฏิเสธการตอบรับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ (Opt-Out) จากผู้ส่งข้อมูลได้โดยง่าย
                    (ข) วิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลจะใช้เพื่อแจ้งความประสงค์ในการบอกเลิก ปฏิเสธ หรือไม่ยอมรับข้อมูล ต้องมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
                         ๑) มาตรการทางเทคนิค (Technical measure) ใด ๆ ที่ให้ผู้รับข้อมูลสามารถ แจ้งกลับเพื่อบอกเลิก ปฏิเสธการรับข้อมูล หรือไม่ยอมรับข้อมูลที่ส่งไปยังผู้ส่งข้อมูลได้โดยง่าย อาทิ ต้องระบุจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail address) หรือหมายเลขโทรศัพท์ หรือหมายเลขโทรสาร หรือที่อยู่ที่ติดต่อได้ของผู้ส่งข้อมูลเพื่อส่งให้ผู้ส่งข้อมูลทําการระงับการส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์ให้แก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือ
                         ๒) วิธีการใด ๆ ทางคอมพิวเตอร์ที่มีการระบุยูอาร์แอล (URL) แบบฟอร์ม หรือคําส่ังทางคอมพิวเตอร์ใด ๆ เพื่อให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์สามารถทําคําสั่งปฏิเสธการตอบรับข้อมูล ดังกล่าวหรือยกเลิกการเป็นสมาชิก (unsubscribe) ได้โดยเร็ว
               (๒) หลังจากที่ผู้ส่งข้อมูลได้รับคําสั่งยกเลิก บอกเลิก หรือปฏิเสธการตอบรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือยกเลิกการเป็นสมาชิกหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์จากผู้รับข้อมูลแล้ว ผู้ส่งข้อมูลต้องดําเนินการ ยกเลิกการส่งข้อมูลไปยังผู้รับโดยทันที ท้ังน้ี หากมีเหตุอันสมควรที่ไม่สามารถยกเลิกได้ทันที ผู้ส่งข้อมูล ต้องทําการยกเลิกการส่งข้อมูลโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้ ต้องดําเนินการให้เสร็จสิ้นภายใน ๗ วัน นับแต่วันที่ ได้รับคําสั่งจากผู้รบั ข้อมูล
               (๓) ในการระบุวิธีการหรือแบบฟอร์มเพื่อบอกเลิก ยกเลิก หรือปฏิเสธการรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนั้น ผู้ส่งข้อมูลหรือบุคคลใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งข้อมูล ห้ามดําเนินการ ดังต่อไปนี้
                    (ก) เรียกร้องให้ผู้รับข้อมูลชําระเงินหรือผลประโยชน์ใด ๆ เป็นการตอบแทน (pay a fee)
                    (ข) ขอข้อมูลจากผู้รับข้อมูลเพิ่มเติม เว้นแต่เป็นการขอข้อมูลเพื่อประกอบการยกเลิก การส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าว
                    (ค) ดําเนินการใด ๆ เพิ่มเติมเพ่ือวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ เช่น ให้ดําเนินการกดปุ่มคําส่ัง (click) เพื่อประโยชน์ใด ๆ ในทางธุรกิจ หรือเข้าสู่เว็บไซต์ หรือช่องทางอื่นใดของผู้ให้บริการหรือ ขายสินค้าหรือบริการเพิ่มเติม
               (๔) ในกรณีท่ีผู้รับข้อมูลส่งคําส่ังบอกเลิกยกเลิกหรือปฏิเสธการรับข้อมูลไปยังผู้ส่งข้อมูลแล้ว ปรากฏว่าผู้ส่งข้อมูลยังฝ่าฝืนและส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มเติมอีก ให้ผู้รับข้อมูลส่งคําส่ังบอกเลิก ยกเลิก หรือปฏิเสธการรับข้อมูลไปยังผู้ส่งข้อมูลอีกครั้งโดยการส่งหนังสือ บอกกล่าวทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ หรือวิธีการใด ๆ ที่ยืนยันได้ว่า ผู้ส่งได้รับคําสั่งดังกล่าวแล้ว หากปรากฏว่าผู้ส่งข้อมูลยังฝ่าฝืนและส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมาย อิเล็กทรอนิกส์เพ่ิมเติมอีก ให้ถือว่าผู้ส่งข้อมูลมีความผิดตามมาตรา ๑๑ วรรคสอง ต้องระวางโทษปรับ ไม่เกินสองแสนบาท


               ข้อ ๖ ผู้ส่งข้อมูลที่เป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น หรือผู้ให้บริการ ประเภทส่ือสังคมออนไลน์ท่ีโฆษณาหรือสนับสนุนการส่งข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องจัดให้มี มาตรการหรือช่องทางในการบอกเลิก ยกเลิกหรือปฏิเสธการรับข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ข้างต้น แก่ผู้ใช้บริการเว็บไซต์ แอปพลิเคช่ัน หรือสื่อสังคมออนไลน์ของตน ท้ังน้ี ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการแอปพลิเคช่ัน หรือผู้ให้บริการประเภทสื่อสังคมออนไลน์จะต้องแจ้งรายละเอียดมาตรการ หรือช่องทางการบอกเลิก ยกเลิก หรือปฏิเสธการรับข้อมูลหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ใช้บริการ และมาตรการหรือช่องทางดังกล่าวจะต้องเป็นมาตรการที่ผู้ใช้บริการสามารถเข้าใจและเข้าถึงได้โดยง่าย
               ในกรณีที่ผู้ให้บริการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น หรือผู้ให้บริการประเภทสื่อสังคม ออนไลน์ไม่ปฏิบัติตามข้อ ๕ ให้ถือว่าผู้ให้บริการเว็บไซต์ ผู้ให้บริการแอปพลิเคชั่น หรือผู้ให้บริการ ประเภทสื่อสังคมออนไลน์ดังกล่าวมีความรับผิดเช่นเดียวกับผู้ส่งข้อมูลตามมาตรา ๑๑
 

               ข้อ ๗ ให้ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการให้เป็นไปตามประกาศนี้ และให้มีอํานาจตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการปฏิบัติตามประกาศนี้
               ในการตีความและการวินิจฉัยปัญหา ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอาจตั้ง คณะทํางานซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมพิจารณาและดําเนินการ ให้เป็นไปตามประกาศนี้


ประกาศ ณ วันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม


============================================


นักสืบเอกชน บริษัทนักสืบเอกชน


               บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด บริษัทนักสืบเอกชนผู้ให้บริการด้านงานสืบสวนแบบครบวงจร ให้บริการสืบทุกเรื่องที่คุณอยากรู้ เช่น ข้อมูลส่วนตัว ชู้สาว สืบทรัพย์ (บังคับคดี) สืบหาที่อยู่ สืบจับ ตามหมายจับ สืบหาข้อมูลยานพาหนะ ข้อมูลการใช้โทรศัพท์ บัญชีธนาคาร คู่แข่งธุรกิจ การเดินทาง เข้า-ออก ประเทศไทย สืบหาพยานหลักฐานในคดีแพ่ง คดีอาญา เป็นต้น (อ่านรายละเอียด)


==========================================


          กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
เลขที่ 725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทร 081-9151522, 090-0700080  email: skyinterlegal@gmail.com , ดูแผนที่ (คลิกที่นี่)



บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด 
725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

โทร. 081-9151522, 090-0700080            E-mail : skyinterlegal@gmail.com           Facebook : Skyinterlegal
Copyright 2011-2022 Sky International Legal Co.,Ltd. All rights reserved.
 
  
view