หน้าแรก เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา

เมนู

 

พระราชบัญญัติ

ล้มละลาย (ฉบับที่ ๑๐)

พ.ศ. ๒๕๖๑
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๑

เป็นปีที่ ๓ ในรัชกาลปัจจุบัน

               สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
               โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยล้มละลาย
               พระราชบัญญัตินี้มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๖ ประกอบกับมาตรา ๓๒ และมาตรา ๓๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทําได้โดยอาศัยอํานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
               เหตุผลและความจําเป็นในการจํากัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้ เพื่อให้การคุ้มครองเจ้าหนี้ ลูกหน้ี และบุคคลท่ีเก่ียวข้อง รวมทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการตราพระราชบัญญัตินี้สอดคล้องกับเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๒๖ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแล้ว
               จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคําแนะนําและยินยอม ของสภานิติบัญญัติแห่งชาติทําหน้าที่รัฐสภา ดังต่อไปนี้

               มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๕๖๑”
               มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
               มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในบทนิยามคําว่า “เจ้าหนี้มีประกัน” ในมาตรา ๖ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “ “เจ้าหนี้มีประกัน” หมายความว่า เจ้าหนี้ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของลูกหนี้ในทางจํานอง จํานํา หรือสิทธิยึดหน่วง หรือเจ้าหนี้ผู้มีบุริมสิทธิที่บังคับได้ทํานองเดียวกับผู้รับจํานํา รวมถึงเจ้าหนี้ ที่กฎหมายอื่นให้ถือว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกัน”
               มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสามของมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
               “เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอ ศาลมีอํานาจส่งเงินประกันค่าใช้จ่ายคงเหลือภายหลัง หักค่าใช้จ่ายให้แก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในคดีล้มละลายนั้น”
               มาตรา ๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๒๔/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
               “มาตรา ๒๔/๑ บุคคลผู้เป็นหนี้ลูกหนี้หรือมีทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่ในครอบครองซึ่งได้รับ คําสั่งจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ให้แจ้งข้อมูลเกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินของลูกหนี้ มีหน้าที่ ต้องแจ้งข้อมูลดังกล่าวให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้ทราบคําสั่ง ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์”
               มาตรา ๖ ให้ยกเลิกความในวรรคหนึ่งของมาตรา ๔๒ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๔๒ เมื่อได้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเสร็จแล้ว ให้ศาลไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผย เป็นการด่วน เพื่อทราบกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ เหตุผลที่ทําให้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตลอดจน ความประพฤติของลูกหนี้ว่าได้กระทําหรือละเว้นกระทําการใดซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัตินี้หรือ ตามกฎหมายอื่นเกี่ยวกับการล้มละลาย หรือเป็นข้อบกพร่องอันจะเป็นเหตุให้ศาลไม่ยอมปลดจากล้มละลายโดยไม่มีเงื่อนไข เว้นแต่ศาลเห็นว่าการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยยังไม่มีความจําเป็น ศาลจะพิจารณางดการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยไว้ก่อนก็ได้”
               มาตรา ๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๖๓ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๖๓ เมื่อศาลพิพากษาให้ล้มละลายแล้ว ลูกหนี้จะเสนอคําขอประนอมหนี้ก็ได้ ในกรณีนี้ให้นําบทบัญญัติของส่วนที่ ๖ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย ในหมวด ๑ กระบวนพิจารณา ตั้งแต่ขอให้ล้มละลายจนถึงปลดจากล้มละลาย มาใช้บังคับโดยอนุโลม แต่ถ้าลูกหนี้ได้เคยขอประนอมหนี้ ไม่เป็นผลมาแล้ว ห้ามมิให้ลูกหนี้ขอประนอมหนี้ภายในกําหนดเวลาหกเดือนนับแต่วันที่การขอประนอมหนี้ ครั้งสุดท้ายไม่เป็นผล
               การขอประนอมหนี้ตามวรรคหนึ่งไม่เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องเลื่อนหรือ งดการจําหน่ายทรัพย์สิน เว้นแต่กรณีมีเหตุอันสมควรที่อาจเป็นประโยชน์แก่การขอประนอมหนี้
               ถ้าศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ ศาลมีอํานาจส่ังให้ยกเลิกการล้มละลาย และจะสั่ง ให้ลูกหน้ีกลับมีอํานาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนหรือจะสั่งประการใดตามที่เห็นสมควรก็ได้”
               มาตรา ๘ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๐/๓ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๙๐/๓ เมื่อลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่สามารถท่ีจะชําระหน้ีตามกําหนดได้ และ เป็นหนี้เจ้าหนี้คนเดียวหรือหลายคนรวมกันเป็นจํานวนแน่นอนไม่น้อยกว่าสิบล้านบาท ไม่ว่าหนี้นั้น จะถึงกําหนดชําระโดยพลันหรือในอนาคตก็ตาม ถ้ามีเหตุอันสมควรและมีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการ ของลูกหนี้ บุคคลตามมาตรา ๙๐/๔ อาจยื่นคําร้องขอต่อศาลให้มีการฟื้นฟูกิจการได้”
               มาตรา ๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓) ของมาตรา ๙๐/๕ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
               “(๓) ศาลได้เคยมีคําสั่งยกคําร้องขอ ยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือยกเลิกการฟื้นฟู กิจการของลูกหนี้ ตามความในหมวดนี้ ภายในระยะเวลาหกเดือนก่อนยื่นคําร้องขอ”
               มาตรา ๑๐ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๙๐/๖ แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๑) ความมีหนี้สินล้นพ้นตัวของลูกหนี้หรือไม่สามารถที่จะชําระหนี้ตามกําหนดได้”

               มาตรา ๑๑ ให้ยกเลิกความใน (๖) ของวรรคหนึ่งในมาตรา ๙๐/๑๒ แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “(๖) ห้ามมิให้เจ้าหนี้มีประกันบังคับชําระหนี้เอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกัน เว้นแต่จะได้รับ อนุญาตจากศาลที่รับคําร้องขอ หรือเมื่อล่วงพ้นระยะเวลาหนึ่งปีนับแต่วันที่ศาลมีคําสั่งรับคําร้องขอ ระยะเวลาดังกล่าวศาลอาจขยายได้อีกไม่เกินสองครั้ง ครั้งละไม่เกินหกเดือน”
               มาตรา ๑๒ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๐/๑๔ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๙๐/๑๔ ทวิ ในกรณีทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันมีสภาพเป็นของสดเสียง่าย หรือ หากหน่วงช้าไว้จะเป็นการเสี่ยงต่อความเสียหายหรือค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาจะเกินส่วนกับค่าของทรัพย์สิน เจ้าหนี้มีประกันอาจใช้สิทธิจําหน่ายทรัพย์สินดังกล่าวตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจหรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องแล้วเก็บเงินไว้แทน”
               มาตรา ๑๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๙๐/๔๖ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๙๐/๔๖ มติยอมรับแผนต้องเป็นไปดังนี้
               (๑) ที่ประชุมเจ้าหนี้แต่ละกลุ่มทุกกลุ่ม ซึ่งมิใช่กลุ่มเจ้าหนี้ตามมาตรา ๙๐/๔๖ ทวิ มีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจํานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียง ลงคะแนนในมตินั้น หรือ
               (๒) ที่ประชุมเจ้าหนี้อย่างน้อยหนึ่งกลุ่ม ซึ่งมิใช่กลุ่มเจ้าหนี้ตามมาตรา ๙๐/๔๖ ทวิ มีมติของเจ้าหนี้ฝ่ายข้างมากและมีจํานวนหนี้ไม่น้อยกว่าสองในสามแห่งจํานวนหนี้ทั้งหมดของเจ้าหนี้ในกลุ่มนั้นซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออก เสียงลงคะแนนในมตินั้น และเมื่อนับรวมจํานวนหนี้ของเจ้าหนี้ที่ยอมรับแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้ทุกกลุ่มแล้ว มีจํานวนไม่น้อยกว่าร้อยละห้าสิบแห่งจํานวนหน้ีของเจ้าหนี้ซึ่งได้เข้าประชุมด้วยตนเองหรือมอบฉันทะ ให้ผู้อื่นเข้าประชุมแทนในที่ประชุมเจ้าหนี้และได้ออกเสียงลงคะแนนในมตินั้น
               ในการนับจํานวนหนี้ให้ถือว่าเจ้าหนี้ตามมาตรา ๙๐/๔๖ ทวิ ได้มาประชุมและได้ออกเสียง ลงคะแนนในมติยอมรับแผนนั้นด้วย”
               มาตรา ๑๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๙๐/๖๒ ทวิ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
               “มาตรา ๙๐/๖๒ ทวิ กรณีศาลมีคําสั่งยกเลิกคําสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หนี้ตามมาตรา ๙๐/๖๒ (๑) ที่เกิดขึ้นเพื่อให้กิจการของลูกหนี้ดําเนินต่อไปได้ในระหว่างการจัดทําแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้โดยสุจริต ย่อมมีบุริมสิทธิเหนือทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้โดยให้อยู่ในลําดับเดียวกับบุริมสิทธิลําดับที่ ๑ ตามมาตรา ๒๕๓ แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”
               มาตรา ๑๕ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นวรรคสองของมาตรา ๑๑๓ แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พุทธศกั ราช ๒๔๘๓
               “การขอให้เพิกถอนตามวรรคหนึ่ง ห้ามมิให้ขอเมื่อพ้นหนึ่งปีนับแต่เวลาที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ได้รู้ต้นเหตุอันเป็นมูลให้เพิกถอน หรือพ้นสิบปีนับแต่ได้ทํานิติกรรมนั้น”
               มาตรา ๑๖ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๓๙/๑ ของส่วนที่ ๑ การแต่งตั้งและ ถอดถอน ในหมวด ๕ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
               “มาตรา ๑๓๙/๑ ให้กรมบังคับคดีจัดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ารับการฝึกอบรม ก่อนเข้าปฏิบัติหน้าที่ เพื่อให้มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรม และประสบการณ์ ในการปฏิบัติงาน รวมถึงการฝึกอบรมเพื่อเพิ่มทักษะและความเชี่ยวชาญ ตามหลักสูตรการฝึกอบรม ที่อธิบดีกรมบังคับคดีกําหนดโดยได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรี
               เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งผ่านการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งให้เป็นตําแหน่งที่มีเหตุพิเศษ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือน และในการกําหนดให้ได้รับเงินเพิ่มสําหรับตําแหน่ง ที่มีเหตุพิเศษ ให้คํานึงถึงภาระหน้าที่ คุณภาพของงาน โดยเปรียบเทียบกับค่าตอบแทนของผู้ปฏิบัติงานอื่นในกระบวนการยุติธรรมด้วย ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวงยุติธรรมโดยได้รับความเห็นชอบ จากกระทรวงการคลัง”
               มาตรา ๑๗ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๑๔๘/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “มาตรา ๑๔๘/๑ ในกรณีที่บทบัญญัติในพระราชบัญญัตินี้กําหนดให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ โฆษณาคําสั่งหรือคําพิพากษาของศาล หรือประกาศหรือคําส่ังของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ในหนังสือพิมพ์รายวัน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อาจโฆษณาทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะอื่นใดแทน ตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศกําหนดก็ได้”
               มาตรา ๑๘ ให้ยกเลิกความในวรรคสองของมาตรา ๑๗๓ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๑/๒๕๖๐ เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่ออํานวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ ลงวันที่ ๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
               “เพื่อประโยชน์แห่งมาตรานี้ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณา คําสั่งพิทักษ์ทรัพย์ในราชกิจจานุเบกษา และหนังสือพิมพ์รายวันหรือผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์สาธารณะ อื่นใดแทนตามที่อธิบดีกรมบังคับคดีประกาศกําหนดแล้วบุคคลทุกคนได้ทราบว่ามีคําสั่งนั้น”
               มาตรา ๑๙ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๑๗๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓
               “มาตรา ๑๗๓/๑ ผู้ใดมีหน้าที่ตามมาตรา ๒๔/๑ แล้วไม่ปฏิบัติตามมาตราดังกล่าว มีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท
               ในกรณีที่ผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นนิติบุคคล ถ้าการกระทําความผิดของนิติบุคคลนั้น เกิดจากการสั่งการหรือการกระทําของกรรมการ หรือผู้จัดการ หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบใน การดําเนินงานของนิติบุคคลนั้น หรือในกรณีที่บุคคลดังกล่าวมีหน้าที่ต้องสั่งการหรือกระทําการและละ เว้นไม่สั่งการหรือไม่กระทําการจนเป็นเหตุให้นิติบุคคลนั้นกระทําความผิด ผู้นั้นต้องรับโทษตามที่บัญญัติ ไว้ในวรรคหนึ่งด้วย

               ถ้าบุคคลตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ยื่นคําขอต่อศาลแสดงถึงเหตุที่ตนไม่อาจแจ้งข้อมูล เกี่ยวกับหนี้หรือทรัพย์สินได้ภายในกําหนดเวลาตามมาตรา ๒๔/๑ เมื่อศาลเห็นว่ามีเหตุอันสมควร จะให้บุคคลนั้นแจ้งข้อมูลดังกล่าวแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในเวลาที่ศาลกําหนดก็ได้ เมื่อบุคคลดังกล่าวได้แจ้งข้อมูลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทราบภายในกําหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้คดีอาญาเป็นอันเลิกกัน”
               มาตรา ๒๐ บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และ ยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาลหรืออยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ให้บังคับตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ จนกว่าคดี จะถึงที่สุด
               มาตรา ๒๑ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้

ผู้รับสนองพระราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นายกรัฐมนตรี


               หมายเหตุ : เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่กระบวนพิจารณาเกี่ยวกับ การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามหมวด ๓/๑ แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช ๒๔๘๓ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติล้มละลาย

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๑ มีบทบัญญัติที่ทําให้ลูกหนี้ไม่สามารถ ขอฟื้นฟูกิจการได้ทันต่อสถานะทางด้านการเงินของลูกหนี้ เนื่องจากลูกหนี้ต้องเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเท่านั้น จึงจะขอฟื้นฟูกิจการได้ นอกจากนั้น การติดตาม การจัดการ และการรวบรวมทรัพย์สินของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์ยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร สมควรกําหนดให้ลูกหนี้มีโอกาสฟื้นฟูกิจการได้เร็วขึ้น และ ให้มีกลไกในการติดตาม จัดการ และรวบรวมทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการคุ้มครอง เจ้าหนี้มีประกันเพียงพอ อันเป็นการส่งเสริมและรองรับความสะดวกในการประกอบธุรกิจและเพิ่มขีด ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้


============================================================


รับ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา ของศาล โดย ทีมงานนักสืบและทนายความผู้เชี่ยวชาญ


               รับ สืบทรัพย์ บังคับคดี ตามคำพิพากษา ของศาล โดย ทีมงานนักสืบและทนายความผู้เชี่ยวชาญ จาก บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด เป็นการสืบหาทรัพย์สินทั้งหมดที่เป็นของลูกหนี้ คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของลูกหนี้ ทั้งทรัพย์สินที่เป็น สังหาริมทรัพย์ เช่น เงินเดือน รถยนต์ อุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน เครื่องจักรอุตสาหกรรม เป็นต้น  อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน อาคาร สิ่งปลูกสร้างต่างๆ ตลอดจน บัญชีเงินฝากธนาคาร ทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิเรียกร้องต่างๆ และดำเนินการบังคับคดีเพื่อให้ลูกหนี้ได้รับการชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล ตามปกติแล้ว ( อ่านรายละเอียด )


========================================================


          กรณีที่ท่านมีความสงสัยหรือต้องการรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดต่อมาได้ที่ บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด
เลขที่ 725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
โทร 081-9151522, 090-0700080  email: skyinterlegal@gmail.com , ดูแผนที่ (คลิกที่นี่)


บริษัท สกายอินเตอร์เนชั่นแนลลีกัล จำกัด 
725 อาคารเอส เมโทร ชั้น 20 ห้อง 174 ถนนสุขุมวิท
แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110

โทร. 081-9151522, 090-0700080            E-mail : skyinterlegal@gmail.com           Facebook : Skyinterlegal
Copyright 2011-2022 Sky International Legal Co.,Ltd. All rights reserved.
 
  
view